ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน (ตอนที่ 2)
บทความ : มัสญิดอิมามซอดิก
เรียบเรียง : มุฮัมมัด มุฮัมมะดียฺ
บทคัดย่อ : อัลกุรอานเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺ เป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิต การรู้เรียนรู้จักอัลกุรอานถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิง อย่างน้อยที่สุดของการรู้จักอัลกุรอานคือ ความสามารถในการอ่านอัลกุรอาน ลำดับต่อไปคือการทำความเข้าใจในความหมายและสาระของอัลกุรอาน บทความนี้จึงนำเสนอลำดับขึ้นตอนเหล่านั้น แก่บรรดาผู้มีใจรักและฝักใฝ่ค้นหาสัจธรรมความจริง
คำสำคัญ : อัลกุรอาน ตะลาวะฮฺ ตะดับบุร ตะฟักกุร
หัวข้อ : ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน (ตอนที่ 2)
บทนำ
สำหรับขั้นตอนการรู้จักอัลกุรอาน ตามที่เสนอไปในบทความก่อนหน้านี้ว่ามีทั้งสิ้น 16 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งนำเสนอไปแล้ว 5 ขั้นตอน บทความนี้นำเสนอต่อจากบทความที่แล้ว
การตะลาวัต เป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน มีหลายที่ด้วยกันที่อัล-กุรอานกล่าวถึง การตะลาวัต เช่น กล่าวว่า
الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَتْلُونَهُ حَقَّ تِلاَوَتِهِ أُوْلَئِكَ يُؤْمِنُونَ بِهِ
“บรรดาผู้ที่เราประทานคัมภีร์แก่พวกเขา [และ] พวกเขาตั้งใจอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง พวกเขานั่นเองที่ศรัทธาต่อคัมภีร์
บางโองการกล่าววาหน้าที่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการอ่านคัมภีร์ โองการกล่าวว่า
هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ
พระองค์ทรงแต่งตั้งเราะซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา
และยังมีอัล-กุรอานโองการอื่นกล่าวสนับสนุนประเด็นดังกล่าว เช่น อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ 129 / 151 , ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 164, ซูเราะฮฺเกาะซ็อด 59
คำว่า ตะลาวัต มาจากคำว่า ตะลา หมายถึง การติดตาม หรือการตามอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การมาของสิ่งหนึ่งบางครั้งอาจแฝงมากับอีกสิ่งหนึ่ง และบางครั้งเป็นการติดตามสิ่งหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตาม การอ่านคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การอ่่านเพื่อปฏิบัติตามคำสั่างห้ามและคำสั้งใช้ของพระองค์ ดังนั้น การตะวาวัต จึงเฉพาะเจาะจงมากกว่า การกะรออัต แม้ว่าทั้งสองคำจะให้ความหมายว่า อ่าน ก็ตาม
นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบาย สิทธิของการตะลาวัต ไว้ว่า การให้นิยามว่าตะลาวัต มีความหมายมาก เป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดแจ้งสำหรับเราเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์อันทรงเกียรติ
ประชาชนเมืออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม ดังนี้
กล่าวถือการอ่านคำและเข้าใจในความหมายจัดว่าเป็นปฐมบทที่โน้มนำไปสู่การปฏิบัติ และสิ่งนี้คือสิทธิของการตะลาวัต
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายโองการที่กล่าวว่า พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ว่าหมายถึง การปฏิบัติตามในสิทธิที่ควรปฏิบัติ
หนึ่งในขั้นตอนของการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การเรียนรู้ ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงประเด็นนี้หลายครั้งด้วยกัน
อัล-กุรอานกล่าวถึงชาวคัมภีร์ว่า
أَلَمْ يُؤْخَذْ عَلَيْهِم مِّيثَاقُ الْكِتَابِ أَن لاَّ يِقُولُواْ عَلَى اللّهِ إِلاَّ الْحَقَّ وَدَرَسُواْ مَا فِيهِ
“มิได้ถูกสัญญาแก่พวกเขาดอกหรือว่า พวกเขาจะไม่กล่าวสิ่งใดพาดพิงถึงอัลลอฮฺ นอกจากความจริงเท่านั้น ขณะที่พวกเขาศึกษาสิ่งที่มีในคัมภีร์นั้น”
นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า คำว่า ดะเราะซะ นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกันกล่าวคือ
2.การทำซ้ำสิ่ง ๆ หนึ่งคือการเรียนรู้ถึงสิ่งนั้น เช่น การเวลาทบทวนบทเรียนที่ครูบาอาจารย์ได้สอนสั่งมาซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ บางครั้งเราจะเห็นว่าอาคารบ้านเรือนดูเก่าแก่มาก (ดัรซฺ วะ อินดิรอซ) ที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากว่า ทั้งลม ฝน แสงแดด และสิ่งอื่น ๆ ได้เกิดซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาคารเก่าเร็วขึ้น
จากจุดนี้จะเห็นว่าการคงสภาพหลงเหลืออยู่ของความรู้หรือหนังสือ เนื่องจากความต่อเนื่องในการเีรียนรู้ จึงเรียกสิ่งนั้นว่า ดัรซฺ
จากคำกล่าวของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานและนักภาษาศาสตร์ทำให้ได้บทสรุปว่า คำว่า ดัรซฺ ในโองการ 169 ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ให้ความหมายว่า ความต่อเนื่อง การทำซ้ำ และการศีกษาคัมภีร์แห่งฟากฟ้า
ในอีกที่หนึ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า
مَا كَانَ لِبَشَرٍ أَن يُؤْتِيَهُ اللّهُ الْكِتَابَ وَالْحُكْمَ وَالنُّبُوَّةَ ثُمَّ يَقُولَ لِلنَّاسِ كُونُواْ عِبَادًا لِّي مِن دُونِ اللّهِ وَلَكِن كُونُواْ رَبَّانِيِّينَ بِمَا كُنتُمْ تُعَلِّمُونَ الْكِتَابَ وَبِمَا كُنتُمْ تَدْرُسُونَ
“ไม่เหมาะสมสำหรับทุกคนที่อัลลอฮฺจะประทานคัมภีร์ วิทยปัญญา และการเป็นนะบีแก่เขา เขาแก่ผู้คนว่าพวกเจ้าจงเป็นบ่าวของฉันมิใช่อัลลอฮ แต่ [จำเป็นต้องกล่าวว่า] จงเป็นปราชญ์ผู้ภักดีต่อพระผู้อภิบาลเถิด เนื่องจากพวกท่าน เคยสอนและเคยศึกษาคัมภีร์มา
คำว่า ร็อบบานียฺ จะกล่าวแก่บุคคลที่ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระผู้เป็นเจ้ามีความมั่นคงสูง เนื่องจากคำนี้มาจากรากศัพท์ของคำว่า ร็อบบะ หมายถึง การอบรมสั่งสอน การดูและ ด้วยเหตุนี้คำ ๆ นี้ จะใช้กับบุคคลที่ให้การอบรมสั่งสอน หรือปรับปรุงบุคคลอื่น
ฉะนั้น เป้าหมายของบรรดาศาสดาจึงมิใช่การเลี้ยงดูบรรดาประชาชาิติ แต่หมายถึงการให้การอบรม เป็นผู้สั่งสอน เป็นครูฝึก และเป็นผู้นำพวกเขา ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มชนที่ได้ผ่าน 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.เคยเห็นบทเรียนของคัมภีร์มาก่อน
ความแตกต่างของคำว่า ตะอฺลีม กับ ตัดรีซ อยู่ที่ว่า ตะอฺลีม มีความหมายกว้างกว่า และครอบคลุมการสอนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการสอนปากเปล่า การสอนโดยใช้สื่อในการสอน และครอบคลุมผู้เรียนทั้งคนโง่และฉลาด
ส่วนคำว่า ตัดรีซ คือการสอนที่สอนโดยอาศัยสื่อซึ่งอาจเป็นตำรา หนังสือ หรือจากการรวบรวมข้อมูลเป็นแผ่น ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบคำทั้งสองจะเห็นว่า คำว่า ตัดรีซ มีความหมายแคบกว่าคำว่า ตะอฺลีม
สรุปว่าเราสามารถรู้จักอัล-กุรอานในระดับที่สูงขึ้นไปได้ด้วยวิธีการ อ่านซ้ำ อ่านด้วยความใคร่ครวญ และเรียนรู้ถึงความหมาย แต่สิ่งที่ควรจำคือ อัล-กุรอานต่างไปจากคัมภีร์เล่มอื่นเนื่องจากอัล-กุรอานมีความใหม่อยู่เสมอ การเรียนรู้ซ้ำไปซ้ำมาจะไม่ทำให้มีความเบื่อหน่าย
ริวายะฮฺกล่าวว่ามีคนหนึ่งถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ทำไมอัล-กุรอานยิ่งพิมพ์เผยแพร่ ยิ่งมีการเรียนรู้มากเท่าใด ยิ่งมีความหวานชื่นมากเท่านั้น ท่านอิมามตอบว่า เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้ประทานอัล-กุรอานลงมาให้ประชาชาติหรือช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง
อัล-กุรอานจะเป็นคัมภีร์ใหม่เสมอตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ และจะให้ความหวานชื่นแก่ทุกประชาชาติ
หนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนคือ การท่องจำโองการต่าง ๆ นั่นเอง
ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มากมายได้กล่าวเน้นเรื่องการท่องจำอัล-กุรอาน เข่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาได้บรรจุอัล-กุรอานเอาไว้
แน่นอนถ้าหากหัวใจคือที่พำนักพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าแล้วละก็ เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้ปกป้องพระดำรัสของพระองค์ และพระองค์จะทรงปกป้องดำรัสของพระองค์ ดังนั้น หัวใจในฐานะแผ่นบันทึกพระดำรัสก็จะถูกปกป้องไปโดยปริยาย
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “บุคคลใดท่องจำอัล-กุรอาน ซึ่งความทรงจำของเขาอ่อนแอมาก อัลลอฮจะประทาน 2 รางวัลแก่เขา”
ยังจะมีสิ่งใดดีไปกว่านี้อีกหรือ การที่เรามิได้ถูกห้ามการได้รับผลประโยชน์จากอัล-กุรอานโดยขั้นตอนดังกล่าว เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีคุณประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์เอง อย่างน้อยสุดตนได้กลายเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล-กุรอาน ทำให้ความทรงจำดีขึ้น เป็นผู้มักคุ้นกับอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดจะได้รับผลบุญมากมายจากพระผู้อภิบาล ริวายะฮฺกล่าวว่า ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงตะโกนบอกกับเขาว่า จงอ่าน และจงขึ้นไปด้านบน ทุกโองการที่อ่านจะทำให้ฐานันดรของเขาในสวรรค์สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
อีกประการหนึ่งสำหรับขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานคือ การไตร่ตรองและใคร่ครวญในอัล-กุรอาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีโองการมากมายได้ย้ำเน้นเอาไว้ และอัล-กุรอานกล่าวเชิญชวนเสมอให้มีการใคร่ครวญในตัวเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการใคร่ครวญเ็ป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของการประทานอัล-กุรอาน ดังที่กล่าวว่า
كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ مُبَارَكٌ لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ
“[กุรอาน] คือคัมภีร์อันจำเริญยิ่ง ซึ่งเราประทานลงมาให้แก่เจ้า เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการต่าง ๆ และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ”
ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้อธิบายโองการดังกล่าวว่า เป้าหมายในการประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติ มิได้ให้อ่านแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าเป้าหมายหลักของการประทานคือการใคร่ครวญและไตร่ตรองในคัมภีร์
บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวว่าประณามบุคคลที่้ไม่ใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า
أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلَى قُلُوبٍ أَقْفَالُهَا
“พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัล-กุรอานดอกหรือ หรือว่าหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่”
ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเน้นถึงการใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “พึงสังวรไว้เถิดว่าการอ่านที่ไม่มีการใคร่ครวญในนั้นไม่มีความดีงามใด ๆ ทั้งสิ้น”
คำว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์คำว่า ดะบะเราะ หมายถึง ด้านหลังของสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ตะดับบุร จึงหมายถึง การครุ่นคิดเบื้องหลังของภารกิจทั้งหลาย (หมายถึงบั้นปลายสุดท้ายของการงาน หรือปรากฏการณ์ที่ได้เห็นหลังจากนั้นได้ใคร่ครวญและทบทวนในเหตุการณ์เหล่านั้น
ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์ของคำว่า ดะบะเราะ หมายถึง การพิสูจน์บทสรุปของสิ่ง ๆ หนึ่ง ต่างกับการ ตะฟักกุร (การคิด) ซึ่งส่วนมากจะคิดถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่ง ๆ นั้น และทั้งสองคำถูกใช้ในอัล-กุรอานในความหมายที่กว้าง
คำว่า อักฟาล ในโองการที่ 24 ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด เป็นพหูพจน์ของคำว่า กุฟลิ ซึ่งมาจากรากศัพท์ของคำว่า กุฟูล หมายถึง การกลับ หรือ กุฟีล ให้ความหมายว่่า สิ่งที่แห้ง ดังจะเห็นว่าถ้ามีคน ๆ หนึ่งปิดประตูและใส่กุญแจอย่างดี ผู้ที่เห็นว่าประตูใส่กุญแจไว้เขาก็จะหันหลังกลับทันที เหมือนกันสิ่งของที่แห้งจะไม่มีสิ่งใดซึมผ่านมันเข้าไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า กุฟีล
การที่จะได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นต้องมีการขัดเกลาตนเองเสียก่อน เพราะอะไร เนื่องจากว่าถ้าหัวใจของเราถูกใส่กุญแจไว้ หมายถึง ถูกอารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำ หรือถูกความยะโสโอหัง ความอคติอวดดี และความเห็นแก่ตัวควบคุมอยู่ โดยไม่ยอมให้สิ่งอื่นหรือแม้แต่รัศมีของอัล-กุรอานเร็ดรอดเข้าไปจะมีประโยชน์อันใดอีก ฉะนั้น นี่คือความหมายของโองการที่กำลังกล่าวถึง
ข้อควรพิจารณา การตะดับบุร ก็คือ ความเข้าใจด้านใน หรือการตะอฺวีล และเป้าหมายของอัล-กุรอานซึ่งแอบแฝงอยู่ที่คำต่าง ๆ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสาธยายแบบฉบับของพระผู้เป็นเจ้า และให้บทเรียนอันทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจในสาส์นทั่ว ๆ ไปของเรื่องราวดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ตัวเอง
ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานอีกประการหนึ่งคือ การคิด ในโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ซึ่งมีหลายโองการที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เช่น กล่าวว่า
إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ
“เราประทาน อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับลงมา เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้ปัญญา”
บางครั้งอัล-กุรอานได้แนะนำว่าเป้าหมายของการประทานอัล-กุรอานคือ การคิดไตร่ตรองของมนุษย์ ดังที่กล่าวว่า
بِالْبَيِّنَاتِ وَالزُّبُرِ وَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ وَلَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ
ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้สาธยายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง
“[เราส่ง] หลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เราส่งอัลกุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้ชี้แจงแก่ปวงมนุษย์ ถึงสิ่งที่ถูกประทานมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง”
ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้เชิญชวนมนุษย์ไตร่ตรองในโองการต่าง ๆ ของพระองค์
ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่านักอรรถาธิบายอัล-กุรอานบางท่านในยุคปัจจุบันกล่าวว่า ตะฟักกุร คือการไตร่ตรองถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งนั้น ส่วนการตะดับบุร คือการไตร่ตรองถึงผลหรือบทสรุปของการเกิดของสิ่งนั้น ในวิชาตรรกวิทยาได้กล่าวว่า เหตุผลนั้นมี 2 ลักษณะกล่าวคือ ลิมมียฺ กับ อินนียฺ
เหตุผลที่เป็นลิมมียฺ หมายถึง การคิดจากสาเหตุที่เกิดไปหามูลเหตุแห่งการเกิด ส่วนเหตุผลที่อินนีย์ คือการคิดจากมูลเหตุที่เกิดไปหาสาเหตุของการเกิด
บางที่อาจกล่าวได้ว่า การตะดับบุรนั้นหมายถึง เหตุผลที่เป็นอินนียฺ ส่วนการตะฟักกุรนั้น หมายถึงเหตุผลที่เป็นลิมมียฺ
ข้อควรพิจารณา ตะฟักกุร คือความเข้าใจภายนอกของอัล-กุรอาน หรืออีกนัยหนึ่งคือการอรรถาธิบาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาศาสดาทั้งหลาย
มีต่อในบทความตอนที่ 3.