การอรรถาธิบายอัล-กุรอาน
บทความ : มัสญิดอิมามซอดิก
ผู้เขียน : มุฮัมมัด มุฮัมมะดียฺ
บทคัดย่อ : อัลกุรอานเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺ เป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิต และเป็นทางนำสำหรับมวลประชาชาติทั้งหลาย การที่จะเข้าใจอัลกุรอานได้ต้องอาศัยคำอธิบาย (ตัฟซีร) ซึ่งการตัฟซีรอัลกุรอานมีทั้ง การตัฟซีรกุรอาน ด้วยอัลกุรอาน ตัฟซีรอัลกุรอานด้วยริยายะฮฺ ตัฟซีรอัลกุรอานด้วยศาสตร์สมัยใหม่
คำสำคัญ : อัลกุรอาน ตัฟซีร อะฮฺลุลบัยตฺ เซาะฮาบะฮฺ
หัวข้อ : การอรรถาธิบายอัล-กุรอาน
บทนำ : ใครผู้คือผู้อธิบายกุรอาน
การอรรถาธิยายอัลกุรอาน โดยเหล่าสาวรของท่านศาสดา ภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้มรณะกรรมไปแล้วมีแนวทางอรรถาธิบายแตกต่างกันออกไป
ซึ่งแบ่งเป็นกุลุ่มได้ดังนี้ ..
กลุ่มที่ 1 หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อลฯ) เสียชีวิต สาวกกลุ่มหนึ่งได้สืบสานการอรรถาธิบายอัล-กุรอาน เช่น อุบัย อิบนุ กะอฺบฺ, อับดุลลอฮฺ อิบนิ มัสอูด, ญาบิร อิบนุ อับดุลลอฮฺ , อะบูสะอีด อัล-คุดรี, อับดุลลอฮฺ อิบนุ ซุบัยรฺ, อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร , อนัส อิบนุ มาลิก , อะบูฮุรอยเราะฮฺ , อะบูมูซา และอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากว่าคนอื่น
แนวทางการอรรถาธิบายอัล-กุรอานของสาวกกลุ่มนี้ บางครั้งพวกเขาอธิบายความหมายของโองการตามรายงานที่ได้รับฟังมาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) รายงานทั้งหมดตั้งแต่เริ่มกุรอานจนจบมี ประมาณ 240 รายงาน ซึ่งบางรายงานมีสายรายงานอ่อนมาก และบางตัวบทของบางรายงานถูกปฏิเสธ และบางครั้งพวกเขาแสดงทัศนะส่วนตัวอรรถาธิบายอัล-กุรอาน โดยมิได้อ้างอิงไปยังท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่อย่างใด
นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานของอะฮฺลิซซุนนะฮฺในยุคหลัง ก็ถือว่าเป็นพวกรุวาอียฺเช่นกัน เนื่องจากบรรดาสาวกได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องกุรอานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) พวกเขาจึงสามารถพูดหรือแสดงทัศนะส่วนตัวออกมาได้
แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนประกอบคำกล่าวอ้างนี้ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังได้นำเอารายงานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการประทาน เรื่องราว และประวัติศาสตร์เข้ามาในตัฟซีร ซึ่งท่ามกลางรายงานของบรรดาสาวก มีคำพูดของผู้รู้ชาวยิวที่เพิ่งจะเข้ามารับอิสลามอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น รายงานของกะอฺบุล-อัคบาร และบุคคลอื่นโดยที่รายงานเหล่านั้นไม่มีสายสืบ
ท่านอิบนุ อับบาส ส่วนใหญ่มักใช้บทกลอนเป็นองค์ประกอบในการตีความอัล-กุรอาน เช่น รายงานที่ระบุว่า อิบนุ อับบาส ได้ตอบคำถามของ นาฟิอฺ อิบนุ อัซร็อก ประมาณ 200 กว่าคำถามโดยยกบทกลอนมาประกอบคำอธิบาย ท่านซุยูฏีย์ บันทึกรายงานไว้ถึง 190 รายงานในหนังสือ อัล-อิตกอนของตน
ดังนั้น ในสภาพเช่นนี้รายงานต่างๆ ที่มาจากนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานที่เป็นสาวก ไม่อาจยอมรับได้ว่าเป็นรายงานของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และสามารถปฏิเสธทัศนะของสาวกได้ อีกด้านหนึ่งต้องยอมรับว่าสาวกคือ นักตัฟซีรรุ่นแรก
กลุ่มที่ 2 ได้แก่บรรดาตาบิอีน ซึ่งเป็นสานุศิษย์ของบรรดาสาวก อาทิเช่น มุญาฮิด, สะอีดอิบนุ ญุบัยรฺ , อิกริมะฮฺ , เฏาะหาก , หะซัน อัล-บัศรี , อะฏออฺ อิบนุ อะบีเราะบาหฺ ,อะฏออฺ อิบนุ อะบีมุสลิม , อะบุล-อาลียะฮฺ, มุฮัมมัด อิบนุ กะอฺบฺ อัล-กุเราะซีย์ , เกาะตาดะฮฺ, อะฏียะฮฺ, ซัยดฺ อิบนุ อัสลัม และฏอวูส อัล-ยะมานี
กลุ่มที่ 3 ได้แก่บรรดาสานุศิษย์ของกลุ่มที่สอง อาทิเช่น รอบีฮฺ อิบนุ อนัส , เราะหฺมาน อิบนุ ซัยดฺ , ซัยดฺ อิบนุ อัสลัม, อะบูศอลิหฺ อัล-กัลป์บี และบุคคลอื่นๆ แนวทางการอรรถาธิบายอัล-กุรอานของบรรดาตาบิอีนคือ บางครั้งพวกเขาจะอ้างรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือเซาะฮาบะฮฺ บางครั้งก็ใช้ทัศนะส่วนตัวอธิบายความหมายเองโองการ โดยไม่ได้อ้างอิงไปยังผู้ใดทั้งสิ้น ซึ่งนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานยุคหลังได้ถือพวกเขาเป็นรุวาอียฺที่รายงานฮะดีซของท่านศาศดา (ซ็อลฯ) แต่รายงานของพวกเขาเป็น “ฮะดีซเมากูฟ” ฉะนั้น นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานรุ่นแรก จึงหมายถึงกลุ่มที่ 1 และ 2
กลุ่มที่ 4 ได้แก่นักอรรถาธิบายที่เขียนและรวบรวมคำอธิบายรุ่นแรก เช่น ซุฟยาน อิบนุ อุยัยนะฮฺ , วะกีอฺ อิบนุ อัล-ญัรรอหฺ, ชุอฺบะฮฺ อิบนุ อัล-อัจญาจ, อับดฺ อิบนุ หะมีด, อิบนุ ญะรีร อัฏ-เฏาะบะรี เจ้าของตัฟซีรที่มีชื่อเสียง
แนวทางการอธิบายอัล-กุรอานของกลุ่มนี้ ได้แก่การบันทึกรายงานของสาวกและตาบีอีน ไว้ในตำราตัฟซีรของพวกเขา โดยหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนะส่วนตัว ยกเว้น ญะรีร อัฏ-เฏาะบะรี ที่บางครั้งได้ใช้ทัศนะส่วนตัวในการให้น้ำหนักระหว่างสายรายงานต่างๆ ซึ่งนักตัฟซีรในยุคหลังเริ่มนับตั้งแต่กลุ่มที่สี่นี้เป็นต้นไป
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่อ้างรายงานฮะดีซไว้ในหนังสือของตน แต่ไม่ระบุสายรายงาน ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า การสูญเสียความเป็นระบบในการอรรถาธิบายอัล-กุรอานได้เริ่มต้นขึ้นจากยุคนี้ ในหนังสืออธิบายอัล-กุรอานของพวกเขาอ้างอิงสายรายงานส่วนใหญ่ไปยังเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีน โดยปราศจากการสืบสวนความถูกต้องและไม่ได้ระบุสายรายงาน จากความไร้ระบบนี้เองส่งผลทำให้มีรายงานเท็จเข้ามาปะปนมากมาย ทำให้รายงานส่วนใหญ่เกิดความไม่น่าเชื่อถือ
แต่ถ้าพิจารณารายงานเหล่านี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จะพบว่ามีรายงานเท็จที่อุปโลกน์ขึ้นมาปะปนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งรายงานเหล่านั้นจะถูกอ้างอิงไปยังคนๆ เดียวกัน เรื่องเล่าที่เป็นเท็จ สาเหตุการณ์ของประทานโองการ นาซิคและมันซูคที่ขัดแย้งกับรูปประโยคของโองการ มิได้มีเพียง 2-3 รายงานพอที่จะมองข้ามไปได้ทว่ามีอยู่อย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้ อิมาม อะหฺหมัด อิบนุ ฮัมบัล จึงได้กล่าวว่า มีอยู่ 3 สิ่งที่ปราศจากหลักฐานหนึ่งในนั้นคือ รายงานฮะดีซที่เกี่ยวกับการอรรถาธิบายอัล-กุรอาน อิมาม ชาฟิอีกล่าวว่า รายงานฮะดีซจากอิบนุ อับบาสมีเพียง 100 บทเท่านั้นที่ถือว่าถูกต้อง
กลุ่มที่ 6 นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานที่เกิดขึ้นหลังจากการเติบโต และการพัฒนาการของศาสตร์ต่างๆ ในอิสลาม นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานแต่ละคน จะอธิบายอัล-กุรอานไปตามสาขาวิชาที่ตนถนัดและเชี่ยวชาญ อาทิเช่น อัซ-ซุญาจ, อัล-วาฮิดี และอะบูฮัยยาน ได้อธิบายอัล-กุรอานตามหลักไวยากรณ์อาหรับ ซะมัค ชะรี อธิบายอัล-กุรอาน ตามหลักโวหารและสำนวนภาษาไว้ในหนังสือตัฟซีร อัล-กัชชาฟของตน, ฟัครุร-รอซีย์ อธิบายอัล-กุรอานตามหลักวิชาศาสนศาสตร์ไว้ในหนังสือตัฟซีร อัล-กะบีรของตน, อิบนุ อะรอบี และอับดุร-ร็อซซาก อัล-กาชานี อธิบายอัล-กุรอานตามหลักอิรฟาน, ษะอฺละบีย์ อธิบายอัล-กุรอานตามหลักการรายงานฮะดีซ , กุรฏุบีย์ อธิบายอัล-กุรอานตามหลักนิติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหนังสืออธิบายอัล-กุรอานอื่นๆ อีกมากมายที่เขียนขึ้นบนพื้นฐานของสาขาวิชาการต่างๆเ ช่น ตัฟฟีร รูหุล-บะยาน ตัฟซีร รูหุล-มะอานีย์ และตัฟซีร เฆาะรออิบุล-อัล-กุรอาน
ผลงานและการรับใช้อันยิ่งใหญ่ของบุคคลเหล่านี้ ที่มีต่อโลกของการอรรถาธิบายอัล-กุรอาน เป็นผลทำให้ศาสตร์ในสาขาต่างๆ หลุดพ้นออกจากสภาพของการหยุดนิ่งซึ่งเคยปรากฏอยู่ในยุคก่อนหน้านี้ การพัฒนาไปสู่การเป็นศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์วิจัยเริ่มเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากเราพิจารณาหลักการเหล่านั้นด้วยใจเป็นธรรม จะเห็นว่าการอธิบายส่วนใหญ่เป็นการยัดเหยียดทฤษฎีทางวิชาการของตนเองให้กับอัล-กุรอาน โดยมิได้คำนึงถึงความหมายที่แท้จริงของโองการ